ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายฯ

ปรัชญา 
      มุ่งมั่นปฏิบัติงาน ด้วยความรอบคอบ เต็มศักยภาพของกำลังความรู้ ความสามารถ โดยยึดหลักกฎหมาย เพื่อผดุงความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ประเทศชาติ ตามหลักมาตรฐานกฎหมายประเทศและสากล

 

ปณิธาน  
      ผดุงความยุติธรรม ยึดหลักกฎหมาย เสริมสร้างพัฒนาบุคลากรเป็นผู้นำก้าวสู่มาตรฐานวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

 

วิสัยทัศน์
       รวดเร็ว ถูกต้อง เที่ยงธรรม เป็นหน่วยงานสนับสนุนงานด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยตามหลักธรรมาภิบาลและรักษาซึ่งผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยตามหลักมาตรฐานกฎหมายประเทศและสากล

พันธกิจ

1. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารงานนิติการสู่มืออาชีพ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยต่อสาธารณชน
2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระเบียบและกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. ส่งเสริม สนับสนุน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารการเงินและการคลัง เป็นไปตามระเบียบและถูกต้อง
4. ส่งเสริม สนับสนุน การทำนิติกรรมและสัญญาเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและเป็นธรรม
5. ส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการพิจารณาคดีและวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ เป็นไปอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรม
6. ส่งเสริม สนับสนุน งานวิจัย นวัตกรรมและสารสนเทศ การให้คำปรึกษา และการสร้างเครือข่าย การบริการวิชาการ ยกระดับการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านกฎหมายสู่ชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ

อัตลักษณ์       
    พัฒนากฎหมาย เสริมสร้างมาตรการ ส่งเสริมคุณธรรม ตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เอกลักษณ์
   ถูกต้อง เที่ยงธรรม สันติสุข

ค่านิยมองค์การ                 

            L  = lawful                 ถูกต้องตามกฎหมาย
           E  = Efficiency           ประสิทธิผลได้ประโยชน์คุ้มค่า
           G  = Good Service      การให้บริการที่ดี
          A  = Accountability    มีสำนึกรับผิดชอบ
          L  = Learning            เรียนรู้อยู่เสมอ

นโยบาย

1. การบริหารงานนิติการสู่มืออาชีพ
2. การพัฒนาระเบียบและกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. การให้ความรู้สู่กระบวนการพิจารณาคดี พัสดุและทรัพย์สิน การเงินและการคลัง นิติกรรมและ สัญญา การวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ เป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้อง อย่างเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรม
4. การสนับสนุน งานวิจัย นวัตกรรมและสารสนเทศ การให้คำปรึกษา และการสร้างเครือข่าย การบริการวิชาการ ยกระดับการเป็นผู้นำองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านกฎหมายเชิงบูรณาการสู่สังคมสันติสุข

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การบริหารงานนิติการสู่มืออาชีพ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยต่อสาธารณชน
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระเบียบและกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารการเงินและการคลัง เป็นไปตามระเบียบและถูกต้อง
4.. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การทำนิติกรรมและสัญญา เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและเป็นธรรม
5. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการพิจารณาคดีและวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ เป็นไปอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรม
6. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนากฎหมาย งานวิจัย นวัตกรรมและสารสนเทศ การให้คำปรึกษา และการสร้างเครือข่าย  การบริการวิชาการ ยกระดับการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านกฎหมายสู่ชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ

เป้าหมาย

1. การบริหารงานนิติการสู่มืออาชีพมุ่งสู่มาตรฐานกฎหมายและสิทธิมนุษยชนสากล
2. การพัฒนาระเบียบและกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีตามมาตรฐานกฎหมายและสิทธิมนุษยชนสากล
3. การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารการเงินและการคลัง เป็นไปตามระเบียบและถูกต้องตามมาตรฐานกฎหมายสากล
4. การทำนิติกรรมและสัญญาเพื่อประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและเป็นธรรมตามระเบียบและถูกต้องตามมาตรฐานกฎหมายประเทศสอดคล้องกฎหมายสากล
5. กระบวนการพิจารณาคดีและวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ เป็นไปอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรม ตามมาตรฐานกฎหมายและสิทธิมนุษยชนสากล
6. พัฒนางานวิจัย นวัตกรรมและสารสนเทศ การให้คำปรึกษา และการสร้างเครือข่าย  การบริการวิชาการ ยกระดับการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านกฎหมายสู่ชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ

แผนยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการด้วยกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนและบริการด้านกฎหมายสู่ความเป็นเลิศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของงานนิติการ และสอดคล้องกับภารกิจ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานนิติการให้มีความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมกฎหมาย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนางานด้านกฎหมาย งานนิติการ ตามพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนางานนิติการไปสู่ความเป็นสากล

 

กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูประบบการบริหารจัดการด้วยกฎหมายตามหลักธรรมาภิบาลเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนและบริการด้านกฎหมายสู่ความเป็นเลิศ

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการงานนิติการ โดยจัดโครงสร้างการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นความสําเร็จของผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลกองนิติการและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรแบบมืออาชีพ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่ดีและได้มาตรฐานด้านกฎหมายและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ที่ 4 ให้คำปรึกษาข้อกฎหมายต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพย์สิน และทรัพย์สินทางปัญญา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของงานนิติการ และสอดคล้องกับภารกิจ
         กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาพื้นที่และสิ่งแวดล้อมให้ร่มรื่นและสะอาด
         กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ICT ให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง และปลอดภัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานนิติการให้มีความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมกฎหมาย
         กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งในงานวิจัยและนวัตกรรมกฎหมาย
         กลยุทธที่ 2 พัฒนาศักยภาพนักวิจัยและนวัตกรรมกฎหมายใหสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ
         กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมกฎหมายและสร้างบรรยากาศ การวิจัยที่เอื้อต่อการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนางานด้านกฎหมาย งานนิติการ ตามพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  
         กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริการวิชาการด้านกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเป็นเอกภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนางานนิติการไปสู่ความเป็นสากล
         กลยุทธ์ที่ 1 เตรียมความพร้อมของบุคลากรกองนิติการ เพื่อเข้าสู่ภูมิภาค อาเซียนและสากล

 

แนวทางการดำเนินการ
1. มุ่งดำเนินการให้บรรลุแผนการปฏิบัติราชการ แผนงานนิติการ และการจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี และหรือสรุปรายงานผลการดำเนินงานคดี/ค่าสถิติคดีต่าง ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
2. การวางโครงสร้าง ฝ่ายงาน กลุ่มงาน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการแบ่งโครงสร้างงาน การกำหนดหน้าที่อย่างเหมาะสมต่อภารกิจงานที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานจริง
3. การวางระบบฝ่ายงานบริหารงานทั่วไปและธุรการกฎหมาย ประกอบด้วย กลุ่มงานบริหารจัดการกองนิติการ กลุ่มงานธุรการกฎหมาย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. การวางระบบฝ่ายงานระเบียบและกฎหมาย ประกอบด้วย กลุ่มงานระเบียบและกฎหมาย กลุ่มงานพัฒนาและวิจัยกฎหมาย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การวางระบบฝ่ายงานคดีและวินัย ประกอบด้วย กลุ่มงานสืบข้อเท็จจริง กลุ่มงานสอบสวนคดีและวินัย กลุ่มงานคดีทางปกครอง กลุ่มงานคดีทางอาญา กลุ่มงานคดีอาญาทุจริต กลุ่มงานคดีทางแพ่ง และกลุ่มงานวินัยไม่ร้ายแรง-ร้ายแรง เป็นต้น

6. การวางระบบฝ่ายงานอุทธรณ์และร้องทุกข์ ประกอบด้วย งานร้องเรียน งานอุทธรณ์ และงานร้องทุกข์ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

7. การวางระบบฝ่ายงานนิติกรรมและสัญญา ประกอบด้วย กลุ่มงานกฎหมายพัสดุและทรัพย์สิน กลุ่มงานกฎหมายการเงินและการคลัง-แพ่งและละเมิด กลุ่มงานนิติกรรมและสัญญา-บุคคล

8. การวางระบบ การวิเคราะห์ถึงระบบงานของงานนิติการในทุกๆ เรื่อง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการงานนิติการและระบบการปฏิบัติงานทักษะด้านกฎหมายแบบมืออาชีพ

9. การวางระบบการบริหารจัดการงานนิติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องตามมาตรฐานการบริหารจัดการ เช่น การบริหารจัดการงานด้านกฎหมาย การประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และมหาวิทยาลัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. การวางระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อ งานนิติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของผู้บริหาร

11. การวางระบบการปฏิบัติงานทักษะด้านกฎหมายแบบมืออาชีพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องตามมาตรฐานกฎหมาย เช่น การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) การประเมินตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในตัวชี้วัดด้านกฎหมายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

12. การวางระบบการพัฒนาบุคลากร ยกระดับการพัฒนาศักยภาพและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านกฎหมายแบบมืออาชีพ เช่น การฝึกอบรม การประชุม การวิจัย การศึกษาดูงาน การจัดการความรู้ คลินิกให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย เป็นต้น ส่งเสริม สนับสนุน องค์ความรู้ต่อการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพที่สูงขึ้นตามมาตรฐานงานของนโยบายมหาวิทยาลัย กระทรวง และประเทศ

13. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานนิติการ เช่น การปฏิบัติงานธุรการ การปฏิบัติงานบริหารงบประมาณ การปฏิบัติงานด้านกฎหมาย เพื่อการสืบค้นและการจัดการระบบการเงินและงบประมาณ โดยสนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงาน มีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน

14. การจัดระบบการกำกับ ติดตาม ควบคุม คดีต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย การสืบสวนข้อเท็จจริง การสอบสวนคดีและวินัย งานอุทธรณ์และร้องทุกข์

15. มุ่งความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อพัฒนากองนิติการ โดยยึดแนวทางการทำงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบที่ถูกต้องของทางราชการ จัดให้มีระบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรภายในกองนิติการและภายในมหาวิทยาลัย ก่อเกิดภาพลักษณ์เป็นต้นแบบที่ดีต่อมหาวิทยาลัยและสาธารณชน

16. มุ่งเน้นความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม เพื่อการทำงานที่โปร่งใสและการตรวจสอบได้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและประโยชน์ของทางราชการ ตามหลักกฎหมายของกระบวนการยุติธรรมประเทศและสากล

17. มุ่งแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือทางด้านกฎหมายต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการพัฒนาวิชาการด้านกฎหมายเป็นที่พึ่งของผู้บริหาร บุคลากรทั้งในระดับสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ป้องกันและเฝ้าระวังโดยการนำหลักกฎหมายไปปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงด้านการประพฤติมิชอบ การทุจริตและคอรัปชั่นในมหาวิทยาลัย

18. มุ่งดำเนินการ สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดีและมหาวิทยาลัยตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืนต่อไป